หน้าแรก
|
ข้อมูลหน่วยงาน
ทำเนียบบุคลากร
การให้บริการประชาชน
การบริหารงาน
การบริหารฯทรัพยากรบุคคล
ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
ติดต่อเจ้าหน้าที่
สำนัก/กอง
บุคลากร
{{header.main_menu[1].title}}
{{header.main_menu[2].title}}
ข้อมูลทั่วไป
โครงสร้างองค์กร
อำนาจหน้าที่
ยุทธศาสตร์และการพัฒนา
คำสั่ง/ประกาศเทศบาล
นโยบายการบริหารงาน
กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
คู่มือ/มาตรฐานการปฏิบัติงาน
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจ
ข้อมูลติดต่อ
สารจากนายกฯ
ประมวลจริยธรรมผู้บริหารท้องถิ่น
แผนที่หน่วยงาน
ข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประวัติความเป็นมา
เทศบาลตำบลป่าก่อดำ จัดตั้งเป็นสุขาภิบาลเมื่อปี พ.ศ. 2536 และได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลขนาดเล็ก เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2552 และปัจจุบันได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลขนาดกลาง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2553
ตราสัญลักษณ์เทศบาลตำบลป่าก่อดำ
มีสัญลักษณ์เป็นรูป “วัดบุญเรืองและพระธาตุจอมหมอกแก้ว” เนื่องจากเทศบาลตำบลป่าก่อดำ มีเขตพื้นที่ 2 ตำบล คือ ตำบลป่าก่อดำ และตำบลจอมหมอกแก้ว มีปูชนียสถานที่เก่าแก่ และเคารพบูชาของประชาชนในพื้นที่ ได้แก่ วัดบุญเรืองป่าก่อดำ และพระธาตุจอมหมอกแก้ว เทศบาลตำบลป่าก่อดำจึงนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของเทศบาล
คำขวัญประจำเทศบาล
ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลป่าก่อดำ ตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ 8 บ้านป่าก่อดำใต้ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ห่างจากอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ประมาณ 20 กิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ลาวประมาณ 8 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 810 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 24.3 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 15,187.5 ไร่ ปัจจุบัน สำนักงานเทศบาลตำบลป่าก่อดำ ตัั้งอยู่ เลขที่ 333 หมู่ที่ 8 บ้านป่าก่อดำใต้ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย 57250 เบอร์โทรศัพท์ 0-5202-9545 /แฟกซ์ 0–5202–9521
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านต้นยาง หมู่ที่ 6 ตำบลบัวสลี (เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบัวสลี) อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แม่น้ำลาว ฝั่งทิศตะวันออก (เขตเทศบาลตำบลป่าอ้อดอนชัย) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 ตำบลป่าก่อดำ (เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลป่าก่อดำ) และบ้านป่าสันกั้นแฮ้ว หมู่ที่ 4 ตำบลจอมหมอกแก้ว (เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลจอมหมอกแก้ว) อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ ติดต่อกับ ลำน้ำห้วยส้านฝั่งทิศใต้ หมู่ที่ 3 ตำบลจอมหมอกแก้ว (เขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลจอมหมอกแก้ว) อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
แผนที่เขตการปกครองเทศบาลตำบลป่าก่อดำ
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่เทศบาลตำบลป่าก่อดำ เป็นที่ราบลุ่ม ประกอบด้วยพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เกษตรกรรม มีลำน้ำห้วยส้าน ลำน้ำแม่ผง และแม่น้ำลาว ไหลผ่าน ลักษณะภูมิอากาศสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปมี 3 ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน อุณหภูมิสูงสุด 31 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 50 – 70 มม./ปี น้ำจะท่วมขังบางส่วนในเขตเทศบาล
ลักษณะโครงสร้างพื้นฐาน
1.) การคมนาคมและขนส่งมีเส้นทางขนส่งทางบกสะดวกมาก มีถนนทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน เชียงราย-พะเยา 4 ช่องทาง ถนนภายในเขตเทศบาลเป็นถนนคอนกรีตเป็นส่วนใหญ่ ถนนลูกรังบางส่วน การคมนาคมทางน้ำไม่มี การคมนาคมทางอากาศห่างจากสนามบินเชียงรายเพียงประมาณ 28 กิโลเมตร
1.1 ถนนสายหลักได้แก่
1.1.1 ถนนทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน เชียงราย-พะเยา
1.1.2 ถนนทางหลวงแผ่นดินป่าก่อดำ-อ.แม่ลาว (หมายเลข ชร.1064)
1.2 ถนนสายรองได้แก่
1.2.1 ถนนระหว่างหมู่บ้าน
1.2.2 ซอย และถนนภายในหมู่บ้าน
2.) การสาธารณูปโภค
2.1 การไฟฟ้าราษฎรมีไฟฟ้าสาธารณะครอบคลุมทุกพื้นที่ มีไฟฟ้าใช้ทั่วถึงทุกครัวเรือน
2.2 การสื่อสาร/โทรคมนาคมมีโทรศัพท์ (โทรศัพท์สาธารณะ, โทรศัพท์บ้าน, สัญญาณโทรศัพท์มือถือทุกเครือข่าย) ครอบคลุมทุกพื้นที่ ครัวเรือนที่ใช้โทรศัพท์ประมาณร้อยละ 95 ของครัวเรือนทั้งหมด สถานีวิทยุชุมชน 2 แห่ง และมีตู้ไปรษณีย์ 2 แห่ง การไปรษณีย์ให้บริการเข้าถึงทุกชุมชน และเครือข่ายวิทยุสื่อสาร 1 แห่งสามารถติดต่อกับ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย และเทศบาลนครเชียงราย ได้สะดวก
3.) การประปาราษฎรใช้น้ำประปาจำนวนประมาณร้อยละ 40 ของครัวเรือนทั้งหมด ปริมาณใช้น้ำประปาประมาณจำนวน 300 ลบ.ม./ปี มีประปาเทศบาล จำนวน 3 ชุมชน คือ ชุมชนหมู่ที่ 3 ตำบลจอมหมอกแก้ว, ชุมชนหมู่ที่ 10 และ 12 ตำบลป่าก่อดำ และมีระบบประปาหมู่บ้าน จำนวน 5 แห่ง คือ ชุมชนหมู่ที่ 3 ตำบลจอมหมอกแก้ว (บางส่วน), ชุมชนหมู่ที่ 2, 7, 8 และ 9 ตำบลป่าก่อดำ และส่วนใหญ่ราษฎรจะใช้บ่อน้ำตื้น และน้ำบาดาล
4.) ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.1 แหล่งน้ำเขตพื้นที่เทศบาลตำบลป่าก่อดำมีแหล่งน้ำจำนวน 3 แห่งไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้ำลาว ลำน้ำแม่ผง และลำน้ำห้วยส้าน ลักษณะการใช้ประโยชน์ ใช้ในการเกษตรกรรม และคุณภาพแหล่งน้ำไม่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสีย4.2 ขยะมูลฝอยปริมาณขยะที่เก็บขนได้ประมาณ 3.5 ตัน/วัน ยังไม่เป็นปัญหาในปัจจุบัน แต่ในอนาคตเทศบาลจะต้องหาวิธีการแก้ไขปัญหา รวมทั้งสถานที่ทิ้งขยะ และวิธีการกำจัดขยะโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันเทศบาลตำบลป่าก่อดำสนับสนุนให้ดำเนินการส่งเสริมการคัดแยกขยะในครัวเรือน ในพื้นที่ทั้ง 7 ชุมชน เพื่อดำเนินการคัดแยกขยะรีไซเคิลออกจากขยะทั่วไป และส่งเสริมการจัดการขยะอินทรีย์ด้วยการเลี้ยงไส้เดือนดิน อีกทั้งยังส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีนิสัยคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เพื่อสร้างรายได้ และลดปริมาณขยะที่จะนำไปกำจัด โดยวิธีฝังกลบ
5.) ด้านเศรษฐกิจ
5.1 การประกอบอาชีพด้วยสภาพทางภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ราษฎรในเขตเทศบาล
ประชากรมีรายได้ต่อหัวเฉลี่ย 23,000 บาท/คน/ปี รายได้เฉลี่ยประมาณ 15,000 – 17,000 บาท/ปี
5.2 การพาณิชยการและบริการ
ทิศทางการค้า/การลงทุน ในเขตเทศบาลเป็นกึ่งชุมชนเมืองและมีเส้นทางคมนาคมสะดวก สามารถเดินทางเข้าจังหวัดได้อย่างรวดเร็ว ทิศทางการลงทุนส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวัด
5.3 สถานประกอบการด้านการบริการ
โรงแรม 1 แห่ง
5.4 การท่องเที่ยว
ยังไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแต่เทศบาลจะดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนในโอกาสต่อไป
5.5 การอุตสาหกรรม
มีการประกอบอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เช่น โรงสีข้าวขนาดเล็ก จำนวน 6 แห่ง และโรงสีข้าวขนาดกลาง จำนวน 2 แห่ง
5.6 การเกษตรกรรม
การประกอบอาชีพเกษตรกรรม อันดับหนึ่ง คือ การปลูกข้าว รองลงมา คือ พืชไร่ สวนผลไม้ และการเลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่การเกษตร จำนวน 2,895 ไร่ จำนวนครัวเรือนในภาคเกษตรกรรม ประมาณร้อยละ 80 ของครัวเรือนทั้งหมด ผลิตผลทางการเกษตรหลัก คือ ข้าว ข้าวโพด
5.7 การปศุสัตว์
ลักษณะการประกอบการปศุสัตว์ รายย่อยในครัวเรือน มีพื้นที่การปศุสัตว์ ประมาณ 100 ไร่ จำนวนประมาณ 57 ครัวเรือน หรือร้อยละ 5 ผลผลิตของการปศุสัตว์ที่สำคัญ เช่น สุกร วัว ไก่ มูลค่าผลผลิตทางการปศุสัตว์ 300,000 บาท/ปี
6.) การศึกษา ศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม
6.1 การศึกษา
ลักษณะด้านการศึกษาของประชาชน จำแนกตามระดับการศึกษา ดังนี้
6.2 ศาสนา
การนับถือศาสนา
- ศาสนาพุทธ ร้อยละ 99
- ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 1
มีศาสนสถาน คือ วัด จำนวน 3 แห่ง (วัดบุญเรือง, วัดศรีดอนมูล และวัดดอนจั่น)
6.3 วัฒนธรรมประเพณี
ขนบธรรมเนียมประเพณี / ศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ เช่น ประเพณีลอยกระทง, ประเพณีสงกรานต์, ประเพณีตานก๋วยสลาก, ประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นต้น
การสาธารณสุข
- สถานะสุขภาพของประชาชน ประชากรร้อยละ 90 มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล
การปกครอง
เขตการปกครอง ประกอบด้วย 7 ชุมชน คือ
จำนวนประชากร
เทศบาลตำบลป่าก่อดำ มีจำนวนประชากร 3,415 คน แยกเป็นเพศชาย 1,627 คน เพศหญิง 1,788 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,237 ครัวเรือน ความหนาแน่น 140 คน/ตารางกิโลเมตร (ข้อมูลปี 2565) โครงสร้างประชากรทั่วไป มีความแตกต่างหลากหลาย เพราะมาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ